วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตำนานและประวัติความเป็นมาของขนมไทย



คนไทยในสมัยโบราณยังไม่รู้จักคำว่า "ขนม" ซึ่งเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่กับข้าว แต่เป็นของกินหลังอาหาร หรือกินเล่น มีรสชาติหวานมัน อร่อยถูกปาก เพราะปรุงจาก แป้ง ไข่ กะทิ และน้ำตาล
            เชื่อกันว่าผู้ประดิษฐ์คิดขนมไทยออกมาเผยแพร่จนเป็นที่นิยม กันอย่างกว้างขวางสืบต่อมาจนทุกวันนี้มีชื่อว่า "ท้าวทองกีบม้า" ท้าวทองกีบม้ามีชื่อเต็มว่า "มารี กีมาร์ เด ปนา"
มารีกีมาร์แต่งงานกับ คอนสแตนติน ฟอลคอน ชาวกรีก ที่เข้ามารับราชการ ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทำงานดีจนเป็นที่โปรดปราน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกพระฤทธิ์กำแหง ตำแหน่งนี้ทำให้ ฟอลคอนร่ำรวยขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ท้าวทองกีบม้าจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบายหรูหรา

ชนิดของขนมไทย


           ขนมหวานไทย จะมีความหวานนำ หรือมีความหวานจนรู้สึกในลิ้นของผู้รับประทานการทำขนมหวานไทยเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและฝึกฝน  ต้องใช้ศิลปะ วิทยาศาสตร์และความอดทน และความเป็นระเบียบ ความพิถีพิถันในการประกอบ ขนมไทยแท้ ๆ ต้องมีกลิ่นหอม หวาน มัน มีความประณีต ที่เกิดขึ้นตั้งแต่การเตรียมส่วนผสม จนกระทั่งวิธีการทำ
            ขนมไทย สามารถจัดแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ตามลักษณะของเครื่องปรุง ลักษณะกรรมวิธีในการทำ  และลักษณะการหุงต้ม คือ
    1. ขนมประเภทไข่ เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา ฯลฯ


ขนมไทยในแต่ละภาค


ขนมไทยภาคเหนือ
ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศกาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์ ขนมที่นิยมทำในงานบุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ไส้หรือขนมจ๊อก ขนมที่หาซื้อได้ทั่วไปคือ ขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อน ข้าวอีตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวแตนหรือข้าวแต๋น ขนมเกลือ ขนมที่มีรับประทานเฉพาะฤดูหนาว ได้แก่ ข้าวหนุกงา ซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียว ถ้าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนมพื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่าแต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อน ขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ในช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงา กับ แปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด

ขนมมงคล 9 อย่าง


    ขนมไทยเอกลักษณ์ของความเป็นไทย นอกจากจะมีความงดงามวิจิตร ละเอียดอ่อน พิถีพิถันในทุกขั้นตอนการทำแล้ว ยังมีรสชาติที่อร่อย หอมกลิ่นพืชพรรณจากธรรมชาติ และกลิ่นอบร่ำควันเทียน อีกทั้งขนมแต่ละชนิดยังมีชื่อเรียกที่บ่งบอกถึงคุณค่า และแฝงไปด้วยความหมายอันเป็นสิริมงคล
    คำว่า มงคลหมายถึง สิ่งที่นำมาซึ่งความดีงามและความเจริญรุ่งเรือง ส่วน ขนมมงคลหมายถึง ขนมไทยที่นำไปใช้ประกอบเครื่องคาวหวาน ถวายพระ เลี้ยงแขก ในงานพิธีมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานบวช หรืองานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น โดยจะต้องเลือกใช้เฉพาะขนมไทยที่มีชื่อไพเราะและเป็นสิริมงคล ดังเช่น ขนมมงคล 9 อย่าง
1. ทองหยิบ
    เป็นขนมมงคลชนิดหนึ่ง มีลักษณะงดงามคล้ายดอกไม้สีทอง ต้องใช้ความสามารถและความพิถีพิถันเป็นอย่างมากในการประดิษฐ์ประดอย จับกลีบให้มีความงดงามเหมือนกลีบดอกไม้ ชื่อขนมทองหยิบเป็นชื่อสิริมงคล เชื่อว่าหากนำไปใช้ประกอบพิธีมงคลต่างๆ หรือให้เป็นของขวัญแก่ใครแล้วจะทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวย หยิบจับการงานสิ่งใดก็จะร่ำรวย มีเงินมีทองสมดังชื่อ ทองหยิบ




ขนมไทยเสริมราศี


นับว่าขนม 12 ราศีนี้เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่เชื่อเรื่องดวงเรื่องราศีอีกทางหนึ่ง เพราะนอกจากจะได้ความอร่อยจากรสชาติของขนมแล้ว ยังได้ความสบายใจกลับไปเต็มอิ่มกันอีกด้วย 
ราศีมังกร เกิดระหว่าง 15 ม.ค.-14 ก.พ.
ขนมสวยหลากสีสร้างสรรค์ให้ชีวิตแปลกใหม่ เป็นคนธาตุดินต้องเสริมความตื่นเต้นแปลกใหม่กับชีวิตด้วยขนมชั้นสีสวยๆ เยลลี่ลายหวานๆ หรือลูกชุปช่วยเสริมสง่าราศีให้โดนเด่นดีที่สุด เครื่องดื่มที่เหมาะคือ น้ำหวานสีต่างๆ

ขนมไทยในพิธีกรรมและงานเทศกาล


เทศกาลสงกรานต์
 ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย จะใช้ขนมที่เป็นมงคลนาม จัดเป็นขนมชั้นดีสำหรับการทำบุญเลี้ยงพระ และเป็นขนมสำหรับรับรองแขกเหรื่อ ที่มารดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ สมัยโบราณจะกวนกะละแมแต่ปัจจุบันอาจใช้ขนมอื่นๆ ที่อร่อยและสวยงาม เช่น ขนมชั้น ขนมลูกชุบ ตามความสะดวก
เทศกาลเข้าพรรษา
  (แรม ๑ ค่ำเดือน ๘) ขนมไทยที่ใช้ได้แก่ ข้าวต้มมัดและขนมแกงบวดต่างๆ เช่น ฟักทองแกงบวด กล้วยบวชชี เป็นต้น


ประโยชน์ของขนมไทย